วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชื่อผู้วิจัย สายทิพย์ ศรีแก้วทุมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

สรุปวิจัย



การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชื่อผู้วิจัย สายทิพย์ ศรีแก้วทุมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร


วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สมมติฐานการวิจัย
ความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการดำเนินการวิจัย 
นักเรียนชั้นอนุบาล2 อายุ 5-6 ปี ใช้การสุ่มอย่างง่ายห้องเรียนมา1 ห้องจากห้องเรียน 2ห้องแล้วจับฉลาดรายชื่อนักเรียนเข้าสู่การทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ15คนรวมเป็นทั้งหมด 30 คน
เครื่องในการวิจัย

เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย  1. แผนการสอนกิจกรรมสร้างสรรค์ 2, แบบปกติและแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลแบ่งเป็น5 ด้าน คือการจำแนกการจัดประเภท การอุปมาอุปามัย อนุกรมและสรุปความ

ช่วงเวลาการทดลอง

ภาคเรียนที่1 เป็นเวลา8 สัปดาห์

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน
การเปรีบยเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

ผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ

ของเล่นวิทยายศาสตร์

ลูกโป่งหรรษา

อุปกรณ์

หลอดกาแฟ
ขวดน้ำ
ขวดซันไลน์
ขวดโหล




สรุปบทความ : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย



สรุปบทความ


บทความ : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย
                 

                สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะองค์กรหลักของชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในทุกระดับการศึกษาให้เหมาะสมเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษนี้ ที่สสวท. กำลังผลักดันก็คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต 
                
 ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร  ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
                
                          สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก ข้อ คือ
 1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ
 2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ  
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน และ  
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน"


    สำหรับครูกษมาพร  เข็มสันเทียะ จากโรงเรียนชุมชนบ้านไผ่ยิ่งยงอุทิศ จ.ขอนแก่น มานำเสนอผลงานการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปฐมวัย โครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู  เล่าถึงผลงานที่นำไปใช้กับนักเรียนอนุบาล ว่าจากที่พาเด็กๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ทำให้เด็กๆ สนุก มีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถตั้งคำถามและแก้ปัญหาได้ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี



             ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย

โทรทัศน์ครูวิชาวิทยาศาสตร์ การสอนวิทยาศาสตร์ของ คุณครูอังศนา มาทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัสัมชัญสมุทรปราการ การทดลองการละลายน้ำ

การสอนวิทยาศาสตร์ของ คุณครูอังศนา  มาทอง  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัสัมชัญสมุทรปราการ
การทดลองการละลายน้ำ
                ครูเริ่มจากการเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมเข้ากับการทดลองการละลายน้ำ โดยการนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดลอง และ บันทึกการทดลอง และ ให้เด็กออกมาพูดสรุปควมรู้ที่ได้
การทดลองกรด-เบส
                ครูให้เด็กนำสารที่ต้องการหากรด-เบสมาทำการทดลองตามความต้องการของเด็ก และ ให้เด็กทำการทดลองเองเด็กจะรู้ว่าสารที่นำมามีสถานะเป็นกรด หรือ เบส และ ครูแนะนำให้เด็กรู้แก้ปัญหา
ประโยชน์ที่รับ
                1.ได้ทราบว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้มากกว่าการสอนแต่ในหนังสือ
2.ได้รับคามรู้เกี่ยวกับการปรับใช้เทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาโดยยึดความรู้ที่นักเรียนจะได้รับเป็นสำคัญ
                3.ได้ทราบว่านักเรียนมีความสนใจในการทดลองวิทยาศาสตร์มาก
อยากแนะนำคุณครูทุกคนว่าการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ยังวิธีการสอน หรือ เทคนิคการสอนมากมาย เช่น การใช้สื่อ                  การสอนจากหนังสือ การทดลอง แต่อย่างไรก็ตามการที่จะสอนโดยวิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อนั้นๆ และ ต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนการการสอนด้วย